วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

สายพันธุ์ ปลากัดคราวน์เทล



ปลากัดหางมงกุฎ หรือปลากัดคราวน์เทล

เป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวสิงคโปร์ เป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ที่มีหาง จักเป็นหนามเหมือนมงกุฎ และเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกัน มากในปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลากัดชนิดนี้คือ ก้านครีบจะโผล่ยาวออกไปจาก ปลายหาง ลักษณะดูเหมือนหนาม ซึ่งอาจยาวหรือสั้นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียว กับลักษณะการแยกของปลายหนาม และการแยกการเว้าโคนหนามก็มีหลายรูปแบบ ปลากัด หางมงกุฎที่สมบูรณ์จะมีครีบหางแผ่เต็มซ้อนทับได้แนวกับครีบอื่นๆ และส่วนของ หนามมีการจัดเรียงในรูปแบบที่สวยงามสม่ำเสมอ

สายพันธุ์ ปลากัดฮาล์ฟมูน



ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก หรือปลากัดฮาล์ฟมูนเดลตา
เป็นปลากัดที่มีหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบหางจะแผ่เป็นแนวเส้นตรง เดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ได้มีแนวคิดและความพยายามในการที่จะพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในประเทศเยอรมนี แต่เพิ่งประสบผลสำเร็จเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวฝรั่งเศสและชาวเยอรมัน ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกมีลักษณะที่ สำคัญ คือ ครีบหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบด้านหน้าจะแผ่เป็นแนว เส้นตรงเดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ครีบด้านนอกเป็นขอบเส้นโค้งของครึ่งวงกลม ก้านครีบหางแตกแขนง ๒ ครั้ง เป็น ๔ แขนง หรือมากกว่า ปลาที่สมบูรณ์จะต้องมีลำตัวและครีบสมส่วนกัน โดยลำตัวต้องไม่ เล็กเกินไป ครีบหางแผ่ต่อเนื่องหรือซ้อนทับกับครีบหลังและครีบก้น จนเห็นเป็นเนื้อเดียว กัน ขอบครีบหลังโค้งมนเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม เส้นขอบครีบทุกครีบโค้งรับเป็น เส้นเดียวกัน (ยกเว้นครีบอก) ปลายหางคู่ที่แยกเป็น ๒ แฉกจะต้องซ้อนทับและโค้งมนสวยงาม ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกที่แท้จริงจะ ต้องมีขอบครีบหางแผ่ทำมุม ๑๘๐ องศา ได้ตลอดไป ถึงแม้ปลาจะมีอายุมากขึ้นก็ตาม

สายพันธุ์ ปลากัดหางสามเหลี่ยม



ปลากัดหางสามเหลี่ยมหรือปลากัดเดลตา
เป็นปลาที่พัฒนา สายพันธุ์มาจากปลากัดครีบยาว หรือปลากัดจีน โดยพัฒนาให้หางสั้นเข้าและแผ่ กว้างออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบครีบหางกางทำมุม ๔๕ - ๖๐ องศา กับโคนหาง และต่อมาได้พัฒนาให้ครีบแผ่ออกไปกว้างมากยิ่งขึ้น เรียก “ซูเปอร์เดลตา” ซึ่งมีหางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ จนขอบครีบหางด้านบน และล่างเกือบเป็นเส้นตรง

สายพันธุ์ ปลากัดจีน


ปลากัดจีน
เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาว รุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีนเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือ มากกว่าความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ๆ และสวย งาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้า นาน ก่อนที่ปลากัดจะถูกนำไปเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า การ พัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะ ใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย

สายพันธุ์ ปลากัดหม้อ


ปลากัดลูกหม้อ
ปลาลูกหม้อหรือปลาหม้อนั้นเป็นปลากัดที่ถูกนำมาคัดสายพันธุ์ โดยนักพันธุศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยที่มุ่งหวังจะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลาเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบสุวรรณนคร) คาดว่า ปลาลูกหม้อน่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุด ล้วงเอาปลาป่าที่อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้งมาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่เลี้ยงมาไม่ได้ การเล่นปลาขุดนี้ยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ ปี 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า "ปลาสังกะสี" ซึ่งสัณนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลาป่าและปลาขุด ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ สีสันลักษณะต่างจากปลาป่าและปลาขุด นักเลงปลาป่าจึงมักไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอง ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงามก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาลักษณะรูปพรรณสีสันที่สวยงามแปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพร้อม ความเก่ง และอดทนในการกัดจะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทยนับได้ว่าเริ่มมา ตั้งแต่ยุคนี้
คำว่า "ลูกหม้อ" นั้นมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด ในระยะแรก ๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ที่สร้างมาแท้ ๆ กับมือของนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้และให้มีสีสันที่สวยงามตามความพอใจ ของเจ้าของ ปลากัดลูกหม้อจึงมีรูปร่าง หนาใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขามกว่าพันธุ์อื่น ๆ สีส่วนมากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน ใน การเล่นปลากัดในยุคก่อนนั้นปลาลูกหม้อจะมีสองประเภทคือ "ลูกแท้" และ "ลูกสับ" ลูกแท้ หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ ่ที่มาจากครอกเดียวกัน และลูกสับหมายถึงลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากคนละครอก ปลากัดลูกหม้อนี้ถ้าเอาไปผสมกลับกับปลาป่าลูกปลาก็จะ เรียกว่า "สังกะสี" เช่นเดียวกัน ซึ่งปลาสังกะสีซึ่งเกิดจากการผสมกลับแบบนี้ส่วนมากก็จะมีชั้นเชิงและน้ำอด น้ำทนในการกัดสู้ลูกหม้อไม่ได้ "ลูกหม้อ" จึงเป็นสุดยอดของปลากัดสำหรับนักเลงปลาทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ก็อาจมีการพูดถึงสายพันธุ์ "มาเลย์" หรือ "สิงคโปร์" ซึ่งว่ากันว่ากัดเก่งหนังเหนียวแต่โดยแท้จริงก็คือปลาลูกหม้อ นั่นเอง เพียงแต่ว่าในระยะต่อมามีการประยุกต์ใช้กลวิธีการหมักปลาด้วยสมุนไพร ใบไม้ ว่าน ดินจอมปลวก และอื่น ๆ เพื่อช่วยเคลือบเกล็ดปลา ที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกล็ดแข็งกัดเข้าได้ยาก ควบคู่ไปกับการคัดเลือกพันธุ์ ถึงอย่างไร ลูกหม้อก็คือลูกหม้อที่เราชาวไทยพัฒนามาแต่โบราณแม้จะถูกนำไปพัฒนาสายพันธุ์ ในที่อื่นก็ยังคงเป็นลูกหม้อไทยตัวเดิมนั่นเอง
ที่มา:รองศาสตราจารย์ ยนต์ มุสิก
ปลาหม้อ หรือที่เรียกว่า "พันธุ์ลูกหม้อ" เป็นปลากัดที่คัดพันธุ์ผสมไว้หลายชั่วชั้น เป็นปลากัดชั้นดีที่สุดปลาสังกะสี หรือที่เรียกว่า "ลูกสังกะสี" ในท้องถิ่นภาคใต้เรียกว่า "ปลาสั้งสี" หรือ "ลูกสั้งสี" เป็นปลาพันทางเกิดจากการนำเอาปลาพันธุ์ลูกหม้อผสมกับปลากัดพันธุ์ลูกทุ่ง หรือลูกป่าปลาซ้ำสาม หรือที่นักเลงปลากัดในภาคใต้เรียกว่า"ลูกเส้งแส้ง" หมายถึงปลากัดพันธุ์ผสมชั้นที่ 3 ระหว่างปลากัด "ลูกสังกะสี" กับ "ปลาลูกทุ่งหรือลูกป่า"
ปลาลูกผสม หรือทีเรียกว่า "ลูกผสม" นักเลงปลากัดในภาคใต้เรียกว่า "ลูกสม" เป็นปลากัดพันธุ์ทาง ชั้นที่ 4 ระหว่าง "ลูกแส้งแส้ง" กับ "ลูกทุ่งหรือลูกป่า

สายพันธุ์ ปลากัดป่าหรือปลาลูกทุ่ง

ปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง

ที่พบในธรรมชาติ ตามท้องนา หนองบึง ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่เด่นมากนัก

ในสภาพปกติสีอาจเป็นสีน้ำตาลเทาหม่น หรือสีเขียว และอาจมีแถบดำจาง ๆ พาดตาม

ความยาวของลำตัว อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างพรรณไม้น้ำในที่ตื้น ความพิเศษของปลา

กัด อยู่ที่ความเป็นนักสู่โดยธรรมชาติเมื่อพบปลาตัวอื่นจะเข้าต่อสู้กันทันที และที่พิเศษยิ่ง

กว่านั้นคือการที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูก กระตุ้น ในสภาวะตื่นตัวครีบทุก

ครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือขยายพองตัวออก พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่

ปรากฏขึ้นมาชัดเจนในโทน ต่าง ๆ ทำให้ดูสง่าอาจหาญ และสวยงาม ปลาป่าแท้นั้นส่วน

มากครีบ หางและกระโดงที่ภาษานักแปลงปลาเรียกรวมว่า “เครื่อง” จะมีสีแดงเกือบตลอด

มีประดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีเส้น เขียว ๆ แซมบ้าง อย่างที่เรียกว่าเขียวก็มีเพียงแต้ม

เขียวอ่อน ๆ ที่กระโดงเท่านั้น เวลาถอดสีปกติทั้งตัวและ เครื่องเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ

คล้ายใบหญ้าแห้ง ที่ห้อยแช่น้ำอยู่ ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ ปลากัดก็คือเป็นปลาที่มี

อวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่อยู่บริเวณเหงือกทำให้ปลา สามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบ

อากาศได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่ที่มีออกซิเจนต่ำ ตำนาน

เล่าขานของปลากัดจึงค่อนข้างแปลกประหลาด ไปกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ บทความ

“ธรรมชาติของปลากัดไทย) โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ที่เขียนไว้เมื่อปี 2496 ได้พูดถึงการขุดหา ปลากัดในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง ริมคู และรางน้ำ ซึ่งปลากัด

เข้าไปอยู่อาศัยปน อยู่กับปูในรูตั้งแต่ต้นฤดูหนาว เมื่อน้ำเริ่มลดไป จนตลอดหน้าแล้งปูก็จะ

ขุดรูลึก ตามระดับน้ำลงไปเรื่อย ๆ ปลากัดจะออกมาแพร่พันธุ์ใหม่ในต้นฝนในเดือนพฤษภาคม กระจายออกไปหากินตามที่มีหญ้ารก ๆ ในเขตน้ำตื้นปลากัด เป็นปลาที่ชอบน้ำ

ตื้น จึงไม่พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ที่มีน้ำลึก อันที่จริงในธรรมชาติการต่อสู่กันของ

ปลากัดไม่จริงจังเท่าไรนัก ส่วนมากมักแผ่พองครีบหางขู่กันเพื่อแย่งถิ่น บางตัวเห็นท่าไม่ดีก็

อาจเลี่ยงไปโดยไม่ ต่อสู้กันเลยก็มี แต่บางคู่ก็ต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ปลาตัวผู้ตัวไหนที่

ยึดชัยภูมิเหมาะได้ที่ ก็จะก่อหวอดไว้แล้วพองตัวเบ่งสี เกี้ยวตัวเมียที่ผ่านไปมา เพื่อผสม

พันธุ์วางไข่

วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์ ปลากัดไทย


ปลากัด เป็นปลาสวยงามขนาดเล็ก ที่คนไทยนิยมเลี้ยงกันมาตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เป็นปลาที่พบได้ในธรรมชาติทุกภาค อาศัยอยู่ตามห้วย หนอง คลอง บึง และในท้องนาทั่วไป

ปลากัด มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง คือ มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษอยู่ที่บริเวณเหงือก ทำให้สามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศที่ผิวน้ำได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานต่อการดำรงชีวิตในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ เพราะสามารถขึ้นรับออกซิเจนที่อยู่บนผิวน้ำได้

ตำนานเล่าขานของปลากัด มีค่อนข้างแปลก ...จากบทความ "ธรรมชาติของปลากัดไทย" โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ซึ่งเขียนไว้นานแล้ว ได้พูดถึงการขุดหาปลากัด ในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง และริมคู ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า ปลากัดสามารถเข้าไปอาศัยอยู่ในรูปู เพราะเมื่อถึงหน้าแล้ง น้ำเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ ปูก็จะขุดรูลึกลงไปตามระดับน้ำที่ลดลงไป ปลากัดก็จะพลอยอาศัยน้ำในรูปูซึ่งมีอยู่นิดหน่อย โดยการหายใจรับอ๊อกซิเจนในอากาศ แล้วปลากัดจะออกมาใหม่ในต้นฤดูฝน


ปลากัด ที่ได้มาจากการขุดหาในรูปู แล้วนำมาเลี้ยงนี้ จะเรียกกันว่า “ปลาขุด” เป็นปลากัดในยุคแรกๆ ที่ว่ากันว่ามีน้ำอดน้ำทนในการกัดปลายิ่งกว่า ปลากัดตามธรรมชาติทั่วไป


ปลากัด โดยปกติจะชอบอาศัยอยู่บริเวณหญ้ารกๆ ในเขตน้ำตื้น ท่านใดจะช้อนตักปลากัดตามธรรมชาติ จะต้องไปบริเวณหญ้ารกๆ เพราะปลากัดเป็นปลาที่รับออกซิเจนที่ผิวน้ำ เราจึงไม่พบปลากัดตามแม่น้ำ ลำคลอง และหนองบึงที่มีน้ำลึกๆ รวมทั้งบริเวณน้ำตก ที่ซึ่งมีน้ำไหลเชี่ยว และไม่มีหญ้าขึ้นรก

ปลากัด เป็นปลาที่หวงถิ่นอาศัย ชอบอยู่ตัวเดียว และจับคู่ในฤดูผสมพันธุ์ จะต่อสู้ทันทีเมื่อมีตัวอื่นเข้าใกล้ ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีได้งดงามเมื่อถูกกระตุ้นในสภาวะตื่นตัว ครีบทุกครีบจะแผ่กางออก แผ่นเยื่อหุ้มเหงือกจะขยายพองออก พร้อมกับสีน้ำเงินเหลือบ หรือสีแดงเหลือบ จะปรากฏออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทำให้ดูมีสง่าสวยงาม และดูอาจหาญ


ด้วยลักษณะพิเศษนี้ คนไทยแต่โบราณจึงได้นำปลากัดมาต่อสู้กันเป็นกีฬาพื้นบ้าน และเลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความสวยงาม


แต่ เดิม ปลากัดที่จับได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ลำตัวจะแบน เล็ก มีสีน้ำตาลขุ่นๆ หรือสีเทาแกมเขียว และอาจจะมีแถบสีดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว มีลักษณะว่องไว แต่กัดไม่ทน เรียกกันว่า “ปลากัดป่า” หรือ “ปลา กัดทุ่ง”


คนไทยได้นำปลากัดป่า มาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั้น หลายชั่วอายุ จนปัจจุบันได้ปลากัดรูปทรงดี แข็งแรง ลำตัวหนา ตัวใหญ่ สีสันสวยงามกว่าเดิม มีทั้งสีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม สีเขียวเข้ม สีเงิน และสีผสมมากกว่าหนึ่งสี ในตัวเดียวกัน รวมทั้งปราดเปรียว อดทนกว่าเดิม เรียกกันว่า “ปลากัดหม้อ หรือลูกหม้อ”


สันนิษฐานว่าคำนี้ ได้จากปลากัดถูกเพาะพันธุ์และเลี้ยงขึ้นมา ภายในหม้อดินเผา ไม่ใช่พันธุ์ที่มาจากท้องนา


จาก บันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลารุ่นเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบ สุวรรณนคร) เล่าว่า “ปลาลูกหม้อ น่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลากัดป่ามากัดพนันกันอยู่ ต่อมานักเลงปลากัดบางคน ก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลากัดป่า ที่อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้ง มาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลากัดป่า ซึ่งส่วนใหญ่ปลาขุดจะสู้ชนะทุกครั้ง”


“หลัง จากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่ง เลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลากัดป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า "ปลา สังกะสี" ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลากัดป่าและปลาขุด ..ปลาสังกะสีมักจะมีตัวใหญ่ สีสันลักษณะต่างจากปลากัดป่าและปลาขุด นักเลงปลากัดป่ามักจะไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันกันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอง”


“ปลา สังกะสี ที่กัดเก่ง อดทน สวยงาม ก็จะถูกคัดเอาไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาที่มีลักษณะรูปพรรณ สีสันที่สวยงาม แปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพันธุ์ พร้อมกับได้ ความเก่ง และความอดทนด้วย จะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทย นับได้ว่าน่าจะเริ่มมาตั้งแต่ยุคนั้น(ประมาณปี 2430)”


จาก ปลาสังกะสี ได้มีการพัฒนาพันธุ์ต่อมา จนได้ปลากัดที่มีครีบและหางยาวพลิ้ว ปลายแหลม มีสีสันสวยงามหลายสี สำหรับเลี้ยงไว้เพื่อดูเล่น คล้ายๆปลาทอง เรียกกันว่า “ปลากัดจีน” เหตุที่เรียกเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะนำมาจากประเทศจีน แต่เป็นเพราะครีบและหางที่ยาวออกมามากและแผ่กว้างขึ้น มีสีสันใหม่ ๆสวยงาม เหมือนตัวงิ้ว จึงเรียกกันว่า "ปลากัดจีน"

และ ยังมีผู้เพาะเลี้ยงและพัฒนาพันธุ์ จนได้ปลากัดที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมอีกเท่าตัว เรียกกันว่า “ปลากัดยักษ์” สำหรับ “ปลากัดเขมร” นั้น เพราะเกิดจากการผสมพันธุ์ไปมา จนได้ปลาที่มีสีผิว แบบปลากัดเผือก หรือสีอ่อน คล้ายๆกับปลากัดทางเขมร จึงเรียกกันว่า "ปลากัดเขมร"


จากความแตกต่างของปลา กัดที่พัฒนาพันธุ์ขึ้น จึงได้แบ่งประเภทของปลากัดเป็นสองประเภท คือ ประเภทครีบสั้น กับประเภทครีบยาว


และยังแบ่งออกได้เป็น ชนิดหางเดี่ยว ชนิดหางคู่ ชนิดก้านครีบ ชนิดหางยาวแหลม ชนิดครีบเว้าลึกคล้ายมงกุฎ(หางมงกุฎ) และชนิดหางแผ่ได้ครึ่งวงกลม(พระจันทร์ครึ่งดวง) รวมทั้งสี ก็ยังแบ่งออกได้เป็น ปลากัดชนิดสีเดี่ยว ชนิดสองสี และชนิดหลากสี

การ ต่อสู้ของปลากัด …ปลากัดป่านั้นเมื่อนำมากัดกัน จะมีน้ำอดน้ำทนไม่มากนัก ระยะเวลาของการต่อสู้ จะไม่เกิน 15-20 นาที แต่ปลาลูกหม้อที่มีการคัดสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถต่อสู้กันได้ประมาณ 3 ชั่วโมง บางคู่อาจกัดกันข้ามวันข้ามคืนก็มี


ปลา กัด สามารถต่อสู้กันอย่างต่อเนื่องได้นาน ๆ โดยไม่ต้องพักยก มีคั่นเพียงการโผล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ

เมื่อ ปลากัด อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมต่อสู้ ปลากัดจะแผ่ครีบของเหงือก และเปล่งสีออกมาอย่างเต็มที่ ปลาทั้งสองอาจจะหันหัวไปในทิศทางเดียวกัน โดยตัวใดตัวหนึ่งจะอยู่เยื้องไปทางด้านหลังเล็กน้อย ปลากัดทั้งสองจะอยู่ในท่านี้ นิ่ง เป็นวินาทีหรืออาจจะหลายนาที แล้วจะเข้าโจมตีกัดกันอย่างรวดเร็ว อาวุธหลักที่ใช้ทำร้ายศัตรู คือฟัน การโจมตีจะต่อเนื่องรุนแรง โดยมีระยะพักขณะที่ปลาแยกตัวออกมาอยู่ในท่าเตรียมพร้อม ในระยะเวลาสั้นๆ แล้วจะเข้าต่อสู้กันอีก


จุดหลักสำหรับการโจมตี คือครีบก้น ครีบหาง และครีบหลัง ส่วนครีบอก และตะเกียบนั้น มักจะไม่ได้รับความสนใจมาก


เมื่อ การต่อสู้ผ่านไปเรื่อยๆ ครีบเดี่ยวเหล่านี้จะถูกกัดขาดวิ่นไปเรื่อยๆ จนบางครั้งอาจจะเหลือเพียงโคนของก้านครีบ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของการว่ายน้ำและการควบคุมทิศทางลดลง รวมทั้งเหนื่อยด้วย


จุดอื่นที่เป็นเป้าโจมตีของปลากัด ก็คือ ด้านข้างลำตัว การกัดบริเวณนี้อย่างรุนแรงรวดเร็ว อาจจะทำให้เกล็ดร่วงหลุด แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีแผลบาดเจ็บมากนัก ยกเว้นบริเวณเหงือก ที่บางครั้งอาจถูกกัดจนเป็นแผล

หากปลาถูกโจมตีซึ่งๆหน้า ไม่สามารถหลบหลีกได้ ปลากัดจะประสานปากเข้ากัดกัน ล็อคขากรรไกรแน่น ท่านี้นักเลงปลา เรียกว่า "ติดบิด" ปลาจะปล่อยตัวตามยาวทำให้ส่วนที่เหลือของลำตัวหมุนบิดเป็นเกลียว จนจมลงสู่พื้นอ่าง และจะคงอยู่ในท่านี้ ประมาณ 10-20 วินาที จึงจะแยกจากกัน เพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อฮุบอากาศ แล้วจะกลับมาต่อสู้กันใหม่ในท่าเดิมอีก



จริยธรรม ของปลากัดในช่วงนี้ จะไม่เคยมีปลากัดตัวไหนถูกลอบกัดขณะขึ้นฮุบอากาศ และในการต่อสู้บางครั้ง อาจจะติดบิดกันถึง 20 ครั้ง จึงจะมีการแพ้การชนะ


การแพ้ชนะของปลากัด ส่วนใหญ่จะเกิดจากการยอมแพ้เพราะเหนื่อยและสูญเสียความอดทน มากกว่าจากการบาดเจ็บ ....เมื่อปลากัดยอมแพ้ ก็จะว่ายน้ำหนี หรือจะหันด้านหางเข้าหาเมื่อคู่ต่อสู้เข้าโจมตี ก็เป็นอันจบเกมการแข่งขัน



ปลา กัด เป็นปลาที่มีสัญชาติญาณของการต่อสู้ รักถิ่นอาศัยของตนเอง แม้จะไม่จับมาแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน มันก็จะกัดกันเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว ...และหากปลากัดเหนื่อยล้าหมดแรง มันก็จะหนี จะไม่กัดกันจนถึงขั้นบาดเจ็บถึงตาย


จากบันทึกของ "เอช เอ็ม สมิต" ที่ปรึกษาทางด้านสัตว์น้ำของประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ได้ชมการกัดปลามากกว่า 100 ครั้ง เล่ายืนยันว่า การกัดปลาไม่โหดร้ายป่าเถื่อนสยดสยองเหมือนที่เข้าใจกัน แต่เป็นการต่อสู้ที่เร้าใจ เต็มไปด้วยศิลปะและความงามในลีลาการเคลื่อนไหว ความสง่า ความคล่องแคล่ว เฉียบแหลม และความอดทน



เมื่อสิ้น สุดการต่อสู้อันยืดเยื้อ ปลาทั้งคู่อาจจะอยู่ในสภาพที่ไม่น่ามอง เนื่องจากครีบอาจจะถูกกัดขาดวิ่น หรือเกล็ดหลุดร่วง แต่ในระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็จะสามารถงอกกลับมาใหม่เป็นดังปกติ แทบจะไม่พบร่องรอยของการบาดเจ็บในอดีต


หมายเหตุจขบ. : ผมไม่เคยกัดปลากัด ข้อมูลเรื่องครีบ และเกล็ด งอกออกมาใหม่นั้น ผมไม่แน่ใจว่าจริงหรือไม่? นะครับ


นักเลงปลากัด จะมีวิธีการซ้อมปลากัดของตน เพื่อให้มีความพร้อมก่อนการต่อสู้ โดยอาจใช้วิธีไล่น้ำ โดยการใช้มือ กวนน้ำในอ่าง ให้น้ำวนอย่างแรง แล้วปล่อยปลาลงไปว่ายทวนน้ำ หรือฝึกออกกำลังปลาโดยปล่อยปลากัด "ลูกไล่" ที่เป็นปลาไม่สู้ ลงไปอยู่ในโหลเดียวกัน แล้วให้ปลานักสู้ของตนซ้อมไล่ เพื่อฝึกความแข็งแรงนั่นเอง

นอกจากการรักษากฎกติกามารยาทในสังเวียนการต่อสู้แล้ว ความน่ารักอีกอย่างหนึ่งของปลากัด ก็คือ ปลากัดตัวผู้ จะเป็นผู้สร้างรัง ดูแลไข่และตัวอ่อน


รัง จะเป็นหวอดที่ก่อขึ้นมาจากฟองอากาศ ที่ปลากัดตัวผู้ จะฮุบเข้าไปผสมกับเมือกเหงือกในปาก แล้วพ่นออกมาเป็นหวอดบริเวณผิวน้ำ เพื่อให้เป็นที่สำหรับฟองไข่และตัวอ่อน เกาะติด



หลัง จากเกี้ยวพาราสีตัวเมีย จนเป็นที่ยินยอมพร้อมใจแล้ว ก็จะทำการรัด โดยตัวเมียจะปล่อยไข่ และตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมา ผสมกันภายนอก


ไข่ ที่ถูกผสม จะค่อยๆจมลงสู่พื้นล่างอย่างช้า ๆ พ่อแม่ปลาจะช่วยกันใช้ปากฮุบฟองไข่ แล้วนำไปพ่นไว้ที่ฟองหวอดจนกว่าไข่จะหมด ซึ่งอาจจะใช้เวลานับชั่วโมง หลังจากนั้นพ่อปลาจะเป็นผู้ทำหน้าที่เฝ้าระวังไข่และลูกอ่อน



ลูก ปลาจะฟักอยู่ภายในหวอดจนไข่แดงถูกใช้หมดและครีบพัฒนาสมบูรณ์ หากลูกปลาพลัดตกลงมาจากหวอด พ่อปลาจะทำหน้าที่นำลูกปลากลับมาพ่นไว้ที่หวอดดังเดิม และคอยเสริมหวอด ด้วยฟองอากาศที่พ่นใหม่อยู่เรื่อยๆ


ในระยะนี้พ่อปลา จะยุ่งทั้งวันโดยไม่มีการพักผ่อนเลย เพราะนอกจากจะต้องซ่อมแซมหวอด และคอยดูแลลูกปลาที่พลัดตกจากหวอดแล้ว ...ยังจะต้องเฝ้าระวังศัตรูที่จะเข้ามากินลูกอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม่ปลาที่จะต้องถูกขับไล่ให้ออกไปอยู่ห่างๆ เพราะแม่ปลาจะชอบกินลูกอ่อนของตัวเอง


อนึ่ง ปลากัดมีความใกล้ชิดกับสังคมไทยไม่น้อยทีเดียว ลองสังเกตคำศัพท์ต่างๆ ซิ มีหลายคำที่นำมาจากวงการปลากัด

"ลูกหม้อ" หมายถึง ผู้ที่มีกำเนิดผูกพันอย่างแท้จริงเหมือนกับปลาลูกหม้อที่คัดสายพันธุ์แท้ จริง เลือกสรรลักษณะมาอย่างต่อเนื่อง

"ลูกไล่" หมายถึง ผู้ที่ถูกข่มอยู่ตลอดเวลา เหมือนปลาลูกไล่ที่ไม่ยอมสู้ปลาตัวอื่น

"ก่อ หวอด" หมายถึง การคิดกระทำมิดีมิร้าย ซึ่งเป็นอาการเตรียมการของปลากัดตัวผู้ ที่วางแผนจะผสมพันธุ์กับตัวเมีย

"ถอด สี" หมายถึง อาการตกใจยอมแพ้ของปลากัด

"ติดบิด" ซึ่งถูกนำมาใช้ในภาษามวย ที่ต่อยแล้วกอดกันแน่น

คำศัพท์ เหล่านี้ คนส่วนใหญ่ จะไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว เป็นคำศัพท์ในวงการนักเลงปลากัดมาก่อน




ปลา กัดสีธงชาติ มองเห็นก็รู้โดยไม่ต้องบอกว่า เมดอินไทยแลนด์


ผู้ที่คิดค้นพัฒนาสีสันของปลากัดสีธงชาติ คือชมรมปลากัดยักษ์ ซึ่ง ปัญศักดิ์ จำนงนิจ สมาชิกชมรมปลากัดยักษ์คนหนึ่ง เล่าให้ฟังถึงการพัฒนาปลากัดสีธงชาติว่า


“เป็นการ พัฒนาแบบใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากเราต้องทำให้ได้ปลากัดขึ้นมา 3 สีก่อน คือแดง น้ำเงิน และขาว ให้สีมันนิ่งก่อน จากนั้นก็เอาตัวสีแดงมาผสมกับสีน้ำเงิน ก็จะได้เป็นปลา 2 สี เรียกว่า บัตเตอร์ฟลาย จากนั้นก็เอาปลากัดสีขาวเข้ามาผสมต่อ ซึ่งทางชมรมก็ได้ทดลองทำมาประมาณ 3-4 ปีแล้ว คิดว่าอีกประมาณ 2 ปี ก็น่าจะได้สีที่ชัดเจนที่สุด”



ราคาขายปลากัดสีธงชาติ เกรดเอนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 บาท แต่ถ้าไปที่ต่างประเทศ ราคาก็จะอยู่ที่ 300 ดอลลาร์ ราคาและความสวยงามขนาดนี้ ไม่ใช่เป็นการเลี้ยงเพื่อเอาไว้กัดแน่นอน แต่เป็นการเลี้ยงเพื่อความสวยงามมากกว่า จะเอาไว้ตกแต่งบ้าน หรือมอบให้เป็นของที่ระลึกก็ได้



“การเลี้ยงปลา จะช่วยให้อารมณ์เยือกเย็น และปลามันมีเสน่ห์ การเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยาก อุปกรณ์ก็ลงทุนน้อย อาหารปลาก็ปกติทั่วไป เป็นพวกลูกน้ำ ลูกไร เต้าหู้หลอด อาหารเม็ดก็ได้ อยู่ที่เราฝึก ไม่ยุ่งยากมาก”